วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Krakow

Krakow
กรากุฟ (โปแลนด์: Kraków) หรือ คราคูฟ หรือ คราเคา (อังกฤษ: Krakow หรือ Cracow) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในโปแลนด์และเป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมของนักท่องเที่ยวเขตเมืองเก่าได้รับการบรรจุอยู่ในรายชื่อมรดกโลกเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวิสตูล่าในเขตเลสเซอร์โปแลนด์ เมืองมีที่มาตั้งแต่ในศตวรรษที่ 7

กรากุฟเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางชั้นนำอย่างมีแบบแผนของสถาบันการศึกษาโปแลนด์ วัฒนธรรมและชีวิตศิลปะ และยังเป็นหนึ่งเมืองศูนย์กลางสำคัญด้านธุรกิจของโปแลนด์ เป็นเมืองหลวงของโปแลนด์ระหว่างปี ค.ศ. 1038 ถึง 1596 เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งคราคาวระหว่างปี 1846 ถึง 1918 และเมืองหลวงของจังหวัดคราครูฟระหว่างศตวรรษที่ 14 ถึงปี 1999 และปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของเขตเลสเซอร์โปแลนด์
เมืองเริ่มเติบโตขึ้นมาตั้งแต่ยุคหิน มีการตั้งรกรากถิ่นฐานในเมืองที่มีความสำคัญที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโปแลนด์นี้ เริ่มต้นในหมู่บ้านในเนินเขาวาเวล และมีการบันทึกว่าเป็นศูนย์กลางการค้าอย่างคึกคักของชาวสลาฟในยุโรปใน ค.ศ. 965 หลังจากสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 และในศตวรรษที่ 20 กรากุฟก็เป็นที่ยอมรับอีกครั้งในฐานะศูนย์กลางการศึกษาหลักแห่งชาติและด้านศิลปะ ที่มีมหาวิทยาลัยเกิดใหม่และงานด้านวัฒนธรรมมากมาย
หลังจากที่นาซีเยอรมนีรุกรานโปแลนด์ จนเป็นฉนวนสงครามโลกครั้งที่สอง กรากุฟตกเป็นเมืองหลวงของรัฐบางทั่วไปของเยอรมนี ชาวยิวในเมืองถูกย้ายออกไปอยู่ในเขตกำแพงที่เรียกว่า กรากุฟเกตโต จากนั้นถูกส่งไปค่ายมรณะอย่างเช่นเอาชวิทซ์และกรากุฟ-พวาชูฟ
ในปี ค.ศ. 1978 ในปีที่ยูเนสโกยกย่องให้กรากุฟอยู่ในรายชื่อมรดกโลก คารอล วอยตีวาบาทหลวงแห่งเมืองกรากุฟขึ้นเป็นพระประมุขแห่งศาสนจักรนิกายโรมันคาทอลิกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ถือเป็นพระสันตะปาปาคนแรกที่ไม่ใช่ชาวอิตาลีในรอบ 455 ปี และถือเป็นพระสันตะปาปาชาวสลาฟคนแรก

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น
หญ้าฝรั่น (ออกเสียง ฝะ-หรั่น) จัดเป็นเครื่องเทศและเครื่องยาที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีการนำเข้าในประเทศไทยจากประเทศแถบอาหรับ หรือชาวตะวันตก มาช้านานหญ้าฝรั่น ในภาษาอาหรับเรียก ซะฟะรัน เป็นไม้ดอกสีม่วง เพาะพันธุ์ด้วยหัว อยู่ในตระกูลเดียวกับไอริส จึงมีเกสรข้างในสีเหลืองทอง เมื่อแห้ง ใช้เติมรสและกลิ่นในอาหาร และใช้เป็นสีย้อมได้ด้วย
หญ้าฝรั่นมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัวและมีรสค่อนข้างขม ชาวตะวันออกและผู้คนแถบทะเลเมดิเตอเรเนียนนิยมใช้ในการปรุงรสและแต่งสีแต่งกลิ่นอาหารมาแต่ครั้งโบราณกาล โดยเฉพาะในข้าวและอาหารจำพวกปลา ส่วนชาวอังกฤษ สแกนดิเนเวียน และผู้คนแถบทะเลบอลข่านใช้ผสมกับขนมปัง นับว่าเป็นส่วนผสมที่สำคัญในตำรับอาหารฝรั่งเศสด้วย
สีเหลืองทองสำหรับย้อมผ้าละลายน้ำได้นั้น กลั่นมาจากเกสรหญ้าฝรั่นในอินเดียสมัยโบราณ หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไม่นานนัก เหล่าสงฆ์ทั้งหลายก็ใช้หญ้าฝรั่นเป็นสีย้อมจีวรอย่างกว้างขวาง สีย้อมดังกล่าวยังใช้สำหรับภูษาอาภรณ์ของกษัตริย์ ในหลายวัฒนธรรม
ในตำราแพทย์แผนโบราณของจีน สมัยยุคศตวรรษที่ 16 นั้นก็ยังมีกล่าวถึงหญ้าฝรั่นโดยแพทย์จีนเรียกหญ้าฝรั่นนี้ว่า ซีหงฮวา ซึ่งแปลว่า ดอกไม้สีแดงจากตะวันตก ส่วนชาวอาหรับและพวกแขกมัวร์ในประเทศสเปนก็รู้จักการปลูกหญ้าฝรั่นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1504 และยังมีการกล่าวไว้ในตำราทางการแพทย์ของอังกฤษ
 
 เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 10 (พ.ศ. 1444- 1543) แต่อาจสูญหายไปจากยุโรป กระทั่งพวกครูเสดนำเข้าไปอีกครั้ง ในช่วงสมัยต่างๆ หญ้าฝรั่นมีค่ามากกว่าทองคำเมื่อเทียบน้ำหนักกัน และยังคงเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลกจนปัจจุบัน
ส่วนตำราการแพทย์แผนโบราณของไทยนั้น หญ้าฝรั่นถือได้ว่าเป็นของที่สูงค่ามีราคาแพงมาก จัดเป็นตัวยาที่ช่วยในการแก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ เป็นตัวยาหลักที่ใช้ในตำรับยาหอมต่างๆ และยังใช้บดเป็นผงให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกินเป็นน้ำกระสายยาคู่กับการกินยาตำรับต่างๆอีกด้วย
ปัจจุบันนี้มีการปลูกหญ้าฝรั่นกันมากในสเปน ฝรั่งเศส ซิซิลี อิตาลี อิหร่าน และแคชเมียร์ จะมีการเก็บเกสรตัวเมียดอกละสามอัน นำไปวางแผ่ไว้ในถาด ย่างไฟที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง นำมาแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร หญ้าฝรั่นแห้งที่ได้ 1 กิโลกรัม เท่ากับผลผลิต 120,000 – 160,000ดอก
ดังนั้นจึงต้องเก็บเกสรตัวเมียจากดอกของหญ้าฝรั่นด้วยมือจำนวนมากถึงจะได้ปริมาณตามที่ต้องการ ทำให้หญ้าฝรั่นจัดเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลกโดยน้ำหนักในบรรดาเครื่องเทศทั้งหลาย ซึ่งโดยเฉลี่ยขายปลีกกันประมาณกิโลกรัมละ 77,700 บาท ทำให้ในปัจจุบันมีการเอาดอกคำฝอย ซึ่งมีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันมากกับหญ้าฝรั่นแต่มีราคาที่ถูกกว่ามากมาผสมปนอยู่ด้วยในเวลาที่ขายในร้านขายเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รูบิค

SRL_รูบิค_lg
ลูกบาศก์ของรูบิค (อังกฤษ: Rubik’s Cube) หรือที่เรียกกันว่า ลูกรูบิค เป็นของเล่นลับสมอง ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดย เออร์โน รูบิค (Ernö Rubik) ซึ่งเป็น ประติมากร และ ศาสตราจารย์ในสาขาสถาปนิก ชาวฮังการี โดยทั่วไป ตัวลูกบาศก์นั้นทำจากพลาสติก แบ่งเป็นชิ้นย่อยๆ 26 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปลูกบาศก์ที่สามารถบิดหมุนไปรอบๆ ได้
ส่วนที่มองเห็นได้ของแต่ละด้าน จะประกอบด้วย 9 ส่วนย่อย ซึ่งมีสีทั้งหมด 6 สี ส่วนประกอบที่หมุนไปมาได้นี้ทำให้ การจัดเรียงสีของส่วนต่างๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ จุดประสงค์ของเกมคือ การจัดเรียงให้แถบสีทั้ง 9 ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้านนั้น มีสีเดียวกัน
 
ลูกบาศก์ของรูบิค ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 และ ได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ ของ วัฒนธรรมสมัยนิยม ของยุคนั้น ลูกบาศก์ของรูบิคนั้นถือได้ว่าเป็นเป็นของเล่นที่ขายได้มากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนยอดขายรวม ทั้งของแท้ และ เลียนแบบ มากกว่า 300,000,000 ชิ้นทั่วโลก
 
ลูกบาศก์ของรูบิค นั้นถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดย เออร์โน รูบิค ประติมากร และ ศาสตราจารย์สถาปนิก ชาวฮังการี ผู้ซึ่งมีความสนใจในเรขาคณิต และ รูปทรงสามมิติ เออร์โนได้จดสิทธิบัตร HU170062 สิ่งประดิษฐ์ ในชื่อ “ลูกบาศก์มหัศจรรย์” (Magic Cube) ในปี ค.ศ. 1975 ที่ประเทศฮังการี แต่ไม่ได้ทำการจดสิทธิบัตรนานาชาติ ได้มีการผลิดชุดแรกเพื่อสำรวจตลาด ในปลายปี ค.ศ. 1977 โดยทำการจำหน่ายในร้านของเล่นในกรุงบูดาเปสต์
 
หลังจากนั้นลูกบาศก์ นี้ก็เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งประเทศฮังการี โดยการบอกเล่าปากต่อปาก วงการศึกษาในกลุ่มประเทศตะวันตก ก็เริ่มให้ความสนใจในลูกบาศก์นี้ ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1979 บริษัท ไอดีลทอยส์ (Ideal Toys) ได้ทำข้อตกลงเพื่อทำการจำหน่ายทั่วโลก และได้มีการเปิดตัวของลูกบาศก์นี้ในระดับนานาชาติที่ งานแสดงของเล่นที่กรุงลอนดอน นครนิวยอร์ก เมืองนูร์นแบร์ก และ กรุงปารีส

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทัวทารา : Tuatara

SRL_tuatara_lg
ทัวทารา (อังกฤษ: Tuatara) เป็นสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ที่สืบเชื้อสายมาจากสัตว์เลื้อยคลานโบราณยุคเดียวกับไดโนเสาร์ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อกว่า 220 ล้านปีก่อน าดการณ์ว่าปัจจุบันมีจำนวนประชากรเหลืออยู่ในธรรมชาติราว 50,000 ตัว จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Sphenodon พบเฉพาะบนเกาะเหนือ ของนิวซีแลนด์เพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น มีทั้งหมด 3 ชนิด 
เป็นสัตว์ที่สืบเผ่าพันธุ์มาจากไดโนเสาร์ที่อยู่ในอันดับ Sphenodontia ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 200 ล้านปีก่อน ขนาดลำตัวของทัวทาราเล็กกว่าบรรพบุรุษมาก โดยมีความยาวจากหัวถึงหางแค่ 32 นิ้วเท่านั้น ตรงแนวสันหลังจะมีรอยหยักขึ้นมาแบบเดียวกับไดโนเสาร์ เป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาวได้ถึง 200 ปี และเคลื่อนไหวช้าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งคำว่า “ทัวทารา” เป็นภาษาเมารี หมายถึง “รอยหยักตรงแนวสันหลัง”
เชื่อว่า บรรพบุรุษของทัวทาราเดินทางมาสู่นิวซีแลนด์จากออสเตรเลียด้วยการเกาะกับของขยะลอยน้ำมากลางทะเลพร้อม ๆ กับการกำเนิดขึ้นมาของผืนดินนิวซีแลนด์เมื่อกว่า 60 ล้านปีก่อน 
ทัวทารา มีความแตกต่างจากกิ้งก่า ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานส่วนใหญ่ในปัจจุบัน พอสมควร โดยลักษณะที่สำคัญ คือ ไม่มีช่องเปิดของหูชั้นนอก และไม่มีอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศผู้ ใช้การผสมพันธุ์โดยให้ช่องเปิดใต้ท้องติดกัน และปล่อยน้ำเชื้อผ่านเข้าไปบนกลางหัวของทัวทารามีแผ่นหนังที่คล้ายกับดวงตา ที่ทำหน้าที่เหมือนกับดวงที่สาม เรียกว่า “ตาผนังหุ้ม” สามารถตรวจจับแสงและแรงสั่นสะเทือน รวมทั้งทำหน้าที่เหมือนกับตาของสัตว์ประเภทอื่น ๆ ได้ 
ทัวทารา ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ซุ่มโจมตีได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า จึงกินแมลงต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นดิน ด้วยการซุ่มนิ่ง ๆ รวมทั้งลูกไม้บางชนิดที่อยู่บนต้น และยังกินแม้แต่ลูกทัวทาราที่เพิ่งฟักจากไข่ใหม่ ๆ ด้วย
ทัวทารา เติบโตเต็มที่เมื่ออายุได้ 70 ปี และเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 20 ปี ซึ่งในปี ค.ศ. 2009 ที่สวนสัตว์ในประเทศอังกฤษ ทัวทาราเพศผู้ตัวหนึ่งอายุ 111 ปี ที่ถูกเลี้ยงในนั้นได้ผสมพันธุ์กับทัวทาราเพศเมีย และได้ไข่และฟักออกเป็นตัวทั้งหมด 11 ตัวด้วยกันทัวทาราเมื่อวางไข่เสร็จแล้ว จะไม่กลับมาดูแลหรือฟักไข่ แต่จะปล่อยให้ฟักเองโดยธรรมชาติ ไข่ของทัวทารามีลักษณะเปลือกหยุ่นคล้ายแผ่นหนัง และเมื่อฟักออกมาเป็นตัวแล้ว ทัวทาราขนาดเล็กซึ่งมีความยาวเพียง 3 นิ้ว จะรีบออกมาจากโพรงทันที มิเช่นนั้นจะตกเป็นเหยื่อของทัวทาราตัวโตกว่าได้