วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

น้ำอัดลม 1 กระป๋องเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลวไม่รู้ตัว



น้ำอัดลม 1 กระป๋องเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลวไม่รู้ตัว


โทษของน้ำอัดลมจากที่เสี่ยงโรคเบาหวาน มะเร็ง โรคอ้วน และโรคอัมพาต ตอนนี้นักวิจัยเผยว่าแค่ดื่มน้ำอัดลมวันละ 1 กระป๋อง ก็เสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลวเพิ่มขึ้นได้อีก

โดยนักวิจัยชาวสวีเดนได้เก็บสถิติจากกลุ่มผู้ทดลองวัยกลางคนในช่วงอายุระหว่าง 45-79 ปี ราว 42,400 คน ต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 ปี โดยที่กลุ่มผู้ทดลองเหล่านี้ก็รับประทานอาหารและเครื่องดื่มตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ทว่าเรื่องมาแดงตรงที่ระหว่างการทดลอง มีผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวหน้าใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวน 3,604 คน และมีเคสผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไปแล้วถึง 509 คน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงก็ทำให้ทราบว่า ผู้ป่วยเหล่านี้มีพฤติกรรมบริโภคน้ำอัดลมทุกวัน

ทางทีมวิจัยจากสถาบันแคโรลินสกา ในสตอกโฮล์มจึงได้ข้อสรุปว่า พฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมวันละ 200 มิลลิลิตร อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลวได้ถึง 23% เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ได้ดื่มน้ำอัดลมหรือดื่มน้ำอัดลมน้อยมาก

ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้การดื่มน้ำอัดลมทุกวันเสี่ยงต่อโรคหัวใจล้มเหลวก็เพราะว่า ปริมาณน้ำตาลที่มากกว่า 7 ช้อนชาในน้ำอัดลม จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงความดันเลือดและส่งผลกระทบไปถึงการสูบฉีด รวมทั้งระบบภายในต่าง ๆ จนอาจทำให้หัวใจทำงานผิดปกติได้ อีกทั้งธรรมชาติของมนุษย์เมื่อได้บริโภครสหวาน ความอยากอาหารอื่น ๆ ก็จะลดลง นำมาซึ่งการบริโภคอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ได้ ซึ่งก็แน่นอนว่าไม่ใช่แนวทางที่ดีต่อสุขภาพเลยจริงๆ

จุดสำคัญที่ทำให้น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลวได้อยู่ที่สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลนั่นเอง ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นที่ออกมาเตือนว่าการบริโภครสหวานจัดเกินไป (บริโภคน้ำตาลมากกว่า 7 ช้อนชาต่อวัน) โดยเฉพาะการบริโภคสารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลจากเครื่องดื่มสำเร็จรูปเหล่านี้อาจทำให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคอัมพาต โรคอ้วน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจล้มเหลวในเวลาต่อมาได้

รูปแบบตึกใหม่ในลอสแอนเจลิส


รูปแบบตึกใหม่ในลอสแอนเจลิส

MAD Architects เผยรูปแบบอาคารใหม่ที่จะถูกสร้างขึ้นตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะในเมืองลอสแอนเจลิสรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อาคารแห่งนี้จะปกคุลมไปด้วยความความเขียวชอุ่มจากพันธุ์ไม้ ส่วนตัวอาคารถูกออกแบบมาในรูปแบบที่ทันสมัย เน้นแนวคิดหลังคาสีเขียว
(ภาพ:MAD Architects)

นี่อาจเป็นการปั่นจักรยานที่ปลอดภัยที่สุด


นี่อาจเป็นการปั่นจักรยานที่ปลอดภัยที่สุด

Peter Ginzburg วัย 26 ปี ในรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา เป็นนักประดิษฐ์ผู้ที่ได้ออกแบบจักรยานคันนี้ มันสามารถปั่นได้ในท่านั่งที่สบาย นอกจากนี้มันยังมีแบตเตอรี่ที่เป็นมอเตอร์มีพลังงาน 500 วัตต์ ช่วยให้มันวิ่งได้เป็นระยะทาง 100 ไมล์ต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 ครั้ง โดยมันอาจจะถูกนำออกมาวางขายในเดือนตุลาคมปีนี้ ด้วยราคา 6,900 ดอลลาร์สหรัฐ

รถบัสหลังคาเขียว


รถบัสหลังคาเขียว

WHO Farm Project ได้โครงการ Bus Roots ที่จะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนรถบัส จึงออกมาเป็นรถบัสหลังคาเขียว ที่ได้รับการออกแบบโดย Marco Castro Cosio หากรถบัสกว่า 4,500 คน ถูกตกตแต่งเพิ่มเติมให้เป็นรถบัสหลังคาเขียว จะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองได้กว่า 35 เอเคอร์

Cathedral of Brasilia โบสถ์ที่มีรูปทรงงดงาม


Cathedral of Brasilia โบสถ์ที่มีรูปทรงงดงาม

โบสถ์ Cathedral of Brasilia เป็นโบสถ์สำคัญของประเทศบราซิล มีความใหญ่โตโอ่อ่า สูงกว่า 40 เมตร จุคนได้ถึง 4,000 คน ประดับด้วยกระจกสีทั้งหลัง ทำให้ยามที่แสงสาดทอลงมาจะดูคล้ายว่ารูปปั้นนางฟ้า และเทพสวรรค์กำลังโบยบินลงมา

ห้องนอนส่วนตัวของแมวที่สามารถฝนเล็บของมันได้ด้วย



ห้องนอนส่วนตัวของแมวที่สามารถฝนเล็บของมันได้ด้วย

ที่นอนส่วนตัวรูปแบบใหม่สำหรับแมวนี้ได้รับการออกแบบโดย Aude Sanchez และ Guillaume Gadenne ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือมันถูกผลิตโดยผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านร่างกาย เพื่อช่วยส่งเสริมให้พวกเขาได้มีงานทำ

หน้าต่างที่ทำช่วยให้คุณนอนมองท้องฟ้าได้

หน้าต่างที่ทำช่วยให้คุณนอนมองท้องฟ้าได้

หน้าต่างรูปแบบใหม่นี้ได้รับการออกแบบโดย Aldana Ferrer Garcia สถาปนิกชาวอาร์เจนติน่า มันเป็นหน้าต่างที่สามารถเปิดไปแล้วจะกลายเป็นที่นอนได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเห็นทิวทัศน์ข้างนอกได้ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่ดาวเต็มท้องฟ้าคุณก็สามารถนอนดูดาวได้ริมหน้าต่างบ้านของคุณ

ต้นไม้แบบ เอสพาลิเออร์ 2 ฤดู




ต้นไม้แบบ เอสพาลิเออร์ 2 ฤดู

ต้นไม้รูปแบบ เอสพาลิเออร์ (espalier) ต้นนี้่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ โดยรูปแบบเอสพาลิเออร์นั้นเป็นการนำพันธุ์ไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่ถูกทำให้เลื้อยเกาะไปตามกำแพงรั้วหรือเส้นลวด ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของชาวโรมัน มีมานานนับพันปี เป็นการปลูกต้นไม้ให้ผลขนานราบไปกับกำแพง หรือพนังบ้าน จนกลายเป็นศิลปแบบหนึ่ง

ผลสำรวจเผย การเลิกเล่น 'เฟซบุ๊ก' จะทำให้คนเรามีความสุขมากขึ้น เพราะการรับรู้เรื่องราวของคนอื่นลดน้อยลง



ผลสำรวจเผย การเลิกเล่น 'เฟซบุ๊ก' จะทำให้คนเรามีความสุขมากขึ้น เพราะการรับรู้เรื่องราวของคนอื่นลดน้อยลง

Happiness Research Institute เผยผลวิจัยเกี่ยวกับการเลิกเล่นเฟซบุ๊ก โดยทดลองกับกลุ่มตัวอย่างชาวเดนมาร์ก 1,000 คน ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะใช้งานเฟซบุ๊กได้ตามปกติ และกลุ่มที่ 2 จะถูกห้ามใช้เฟซบุ๊กโดยเด็ดขาด เป็นเวลา 1 สัปดาห์

ผลสำรวจที่ได้คือ กลุ่มที่ใช้เฟซบุ๊กได้ตามปกติ มีความสุขเพียง 81% เท่านั้น ต่างกับกลุ่มที่ถูกห้ามใช้เฟซบุ๊กที่มีความสุขเพิ่มขึ้นถึง 88% เลยทีเดียว นั่นเป็นเพราะว่า การได้รับรู้เรื่องราวชีวิตของคนอื่น ทำให้ไม่รู้สึกอิจฉาหรือเกิดการเปรียบเทียบกับคนอื่น มันทำให้เราหันสนใจความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการที่เขาไม่ต้องรับรู้เรื่องของคนอื่น มันทำให้พวกเขาเหงาน้อยลง มีสติ สมาธิ มีความกระตือรือล้นมากขึ้น รวมถึงมีเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวมากขึ้นด้วย

Sophie Anne Dornoy หนึ่งในกลุ่มตัวอย่างวัย 35 ปี กล่าวว่า ทุกวันนี้สิ่งแรกที่เธอทำหลังจากตื่นนอนก็คือ การเปิดเฟซบุ๊กเข้ามาอัพเดทดูว่าเมื่อคืนมีใครทำอะไรกันบ้าง จนสิ่งเหล่านี้กลายเป็นนิสัย แต่พอเธอเลิกเล่นเฟซบุ๊ก เธอก็รู้สึกว่างานต่าง ๆ ที่ต้องทำเสร็จเร็วกว่าเมื่อก่อน ชีวิตมีความสงบสุขมากขึ้น ไม่ต้องออกไปเผชิญกับใคร ๆ ในเฟซบุ๊กอยู่ตลอดเวลา

Meik Wiking ผู้บริหารของ Happiness Research Institute กล่าวว่า "เฟซบุ๊กเต็มไปด้วยเรื่องราวดี ๆ ที่ผ่านการคัดสรรมาก่อนที่จะโพสต์ออกมา ซึ่งมันอาจจะทำให้เรื่องราวบิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้ แล้วมันจะเป็นยังไง ถ้าเราตัดขาดจากสิ่งเหล่านี้บ้าง"

นอกจากนั้น สมองของคนเรายังได้รับผลกระทบจากสมาร์ทโฟนที่เป็นตัวขับเคลื่อนวิถีชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยที่โซเชียลมีเดียก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งนักจิตวิทยากล่าวเพิ่มเติมว่านี่เป็นเพียงการเริ่มต้นการทำความเข้าใจ โดยเฉพาะผลกระทบในระยะยาว และเชื่อหรือไม่ว่า เฟซบุ๊กมีอายุเพียง 11 ปีเท่านั้น

ทั้งนี้การวิจัยดังกล่าวจะไม่ได้หยุดการทดลองแค่เพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น แต่ยังจะมีศึกษาเกี่ยวกับการเลิกใช้เฟซบุ๊กนาน 1 ปีด้วย ซึ่งในขณะนี้กำลังค้นหาผู้ที่จะมาร่วมเป็นอาสาสมัครในโครงการนี้อยู่


Resource: sciencealert