วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภัยเงียบจากกล่องโฟม

ภัยเงียบจากกล่องโฟม

กล่องโฟม
โฟม พลาสติกผ่านกระบวนการใช้สารขยายตัว ทำให้เกิดโพรงแก๊สขึ้นในเนื้อพลาสติก โดยโฟมจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ Polystyrene, Polyethylene และPolyurethane โฟมย่อยสลายไม่ได้เองตามธรรมชาติ และการทำลายโฟมทำให้เกิดมลพิษในหลายๆด้านจึงมีความพยายามนำโฟมกลับมาย่อยเป็นพอลิเมอร์อีกครั้ง
คุณสมบัติที่ได้คือ มีน้ำหนักเบาทำเป็นรูปลักษณะต่างๆได้ดี และทนความร้อนทำให้โฟมเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นภาชนะ บรรจุหรือหีบห่ออาหารทั่วไป
การนำโฟมที่มีองค์ประกอบ Polystyrene มาใช้บรรจุอาหารร้อน นั้นทำให้เกิดการหลอมละลายสารสไตรีน (Styrene) ที่อยู่ในโฟมออกมาผสมอาหารซึ่งสารนี้เป็นสารก่อมะเร็ง สำหรับสารสไตรีนถือเป็นสารอันตรายที่สหรัฐอเมริกา โดยมีการขึ้นบัญชีสารเป็นสารก่อมะเร็ง
หญิงมีครรภ์ที่รับประทานอาหารบรรจุในกล่องโฟมมีโอกาสทำให้ลูกสมองเสื่อม กลายเป็นเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา อวัยวะบางส่วนพิการ
คนทั่วไปหากรับประทานอาหารกล่องโฟมทุกวัน วันละอย่างน้อย 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า
ที่มา : กรมอนามัย

Siberian cat หนึ่งในสัตว์ที่มีขนสวยที่สุดในโลก

Siberian cat หนึ่งในสัตว์ที่มีขนสวยที่สุดในโลก

Siberian cat
แมวไซบีเรียน (Siberian cat ) เดิมมีชื่อเรียกว่า Moscow Semi-Longhair มีถิ่นกำเนิดในประเทศรัสเซีย เป็นแมวที่มีต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติและในช่วงปี 1980 ได้กำหนด ความเป็นมารตราฐานให้แก่แมวไซบีเรียน แต่มันถูกนำเข้าไปยังอังกฤษในปี 1871

รูปร่างโดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงกับ Norwegian Forest Cat แตความพิเศษของมันคือจะมีขนหนายาวในช่วงฤดูหนาว และขนจะสั้นลงในช่วงฤดูใบไม้ผลิ มีสีขนที่หลากหลาย
ปัจจุบันถือเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมในหลายประเทศ และมันก็เป็นแมวที่มีค่าตัวแพงในอันดับต้น ๆ ของแมว

ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ

ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ

ปลาสินสมุทร
ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ (Emperor angelfish) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthus imperator อยู่ในวงศ์ปลาสินสมุทร จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มากชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร

พวกมันจะกระจายพันธุ์ตามแนวปะการังที่สมบูรณ์ ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่จะพบได้ในทะเลอันดามันมากกว่า เป็นปลาที่มักอยู่ลำพังตัวเดียวหรืออยู่เป็นคู่ ในความลึกตั้งแต่ 3-100 เมตร
ความพิเศษของมันคือในช่วงที่เป็นปลาวัยอ่อนนั้น จะมีสีน้ำเงิน มีเส้นลายสีขาวและมีลายก้นหอยบริเวณส่วนปลายของลำตัวใกล้โคนหาง และไม่มีสีเหลืองมาปะปน กระทั่งเติบโตขึ้น ครีบหางและครีบใต้ท้องด้านใกล้โคนหางก็จะเริ่มมีสีเหลืองและลวดลายของลำตัวก็จะเริ่มเปลี่ยนไป จนกระทั่งมีลวดลายและสีสันคล้ายกับปลาที่โตเต็มที่ขึ้นมาเรื่อย ๆ ตามวัย

ปลาฉลามเมกาเมาท์ถูกพบได้ในฟิลิปปินส์

ปลาฉลามเมกาเมาท์ถูกพบได้ในฟิลิปปินส์

ปลาฉลามเมกาเมาท์
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2015 ที่ผ่านมา ชาวบ้านได้พบกับปลาฉลามเมกาเมาท์ ถูกคลื่นซัดขึ้นมายังชายฝั่ง Marigondon ในเมืองซีบู ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นฉลามเพศผู้มีขนาดความยาวประมาณ 15 ฟุต

ปลาฉลามเมกาเมาท์ ( Megamouth shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Megachasma pelagios เป็นปลาฉลามน้ำลึกขนาดใหญ่ที่พบได้ยากมาก มีจุดเด่น คือ ปากที่กว้างใหญ่มากและฟันซี่แหลม ๆ เหมือนเข็มอยู่ทั้งหมด 7 แถว
Photo : Twitter
มันกินแพลงก์ตอนเป็นอาหารเหมือนปลาฉลามบาสกิ้น และปลาฉลามวาฬ โดยมีปากกว้างใหญ่เพื่อกลืนเอาน้ำเข้าไปมาก ๆ แล้วกรองน้ำออกให้เหลือแต่แพลงก์ตอน
จากการบันทึก ณ เดือนมกราคม 2015 มีการพบมันแค่ 60 ครั้ง ส่วนใหญ่ถูกพบในประเทศฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และยังพบในมหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และอินเดีย และเคยพบในน่านน้ำใกล้ฮาวาย แคลิฟอร์เนีย เม็กซิโก อินโดนีเซียออสเตรเลีย บราซิล เซเนกัล แอฟริกาใต้ และเอกวาดอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์

บิดาของปาสเตอร์เป็นช่างฟอกหนังชื่อ ชอง โจเซฟ ปาสเตอร์ เคยเป็นทหารผ่านศึกสมัยจักรพรรดินโปเลียน ฐานะของครอบครัวไม่ดีนัก เขาได้รับการศึกษาครั้งแรกที่จังหวัดอาร์บัวส์ มีความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์นอกจากนี้เขายังมีความสามารถพิเศษในการวาดรูปอีกด้วย [2]
ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ ต่อมาเขาก็ได้ไปเรียนที่กรุงปารีส แต่ก็ป่วยด้วยโรคคิดถึงบ้าน ก่อนจะกลับไปเรียนที่ปารีสอีกครั้งในภายหลัง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1854 เขาได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยลิลล์
หลุยส์ ปาสเตอร์ (/iconˈli pæˈstɜr/ภาษาฝรั่งเศส: [lwi pastœʁ] ; 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 - 28 กันยายน ค.ศ. 1895) นักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410
ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นเป็นสมมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม
ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์