วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) ส่งท้ายปี 2556

ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) ส่งท้ายปี 2556



ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) ส่งท้ายปี 2556
ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) หรือฝนดาวตกคนคู่ สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าทางทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณใกล้กับ กลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกเจมินิดส์ในคืนวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลาประมาณ 20:00 น. จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ตามเวลาของประเทศไทย

โดยในครั้งนี้จะมีอัตราการตกสูงสุดไม่เกิน 120 ดวงต่อชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้า ซึ่งสามารถชมปรากฏการณ์ได้ด้วยตาเปล่าในทุกพื้นที่ของประเทศไทย (บริเวณที่ท้องฟ้ามืดสนิทและมีทัศนวิสัยท้องฟ้าที่ดีปราศจากเมฆฝน) ทั้งนี้คาดว่าในช่วงเวลาประมาณเที่ยงคืนจนถึงช่วงเวลารุ่งเช้าของวันที่ 14 ธันวาคม นั้นจะเป็นช่วงที่มีอัตราการตกของดาวเฉลี่ยต่อชั่วโมงมากที่สุด 

ปรากฏการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์นั้นมีชื่อเสียงมากในเรื่องของความงดงาม โดยการสังเกตฝนดาวตกเจมินิดส์ จะสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายกว่าฝนดาวตกลีโอนิดส์ เนื่องจากมีความเร็วของดาวตกไม่มากนัก 35 กิโลเมตรต่อวินาที ทำให้ง่ายต่อการสังเกตมากกว่าเมื่อเทียบกับฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonid) ที่มีความเร็วในการเคลื่อนที่ถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งมีเวลาพอที่จะชี้ชวนกันดูฝนดาวตกได้ และทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้จัดกิจกรรมชวนคนไทยร่วมสังเกตการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ ภายใต้ชื่อกิจกรรม “เปิดฟ้า..ตามหาดาว” บริเวณยอดดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่  

ส่วน ผู้ที่ต้องการถ่ายภาพฝนดาวตก ควรใช้กล้องที่สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ และใช้ความไวแสงสูงๆ ตั้งแต่ ISO 1600 ขึ้นไป เพื่อให้กล้องมีความไวแสงในการบันทึกภาพฝนดาวตก รวมทั้งการตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง และเลนส์มุมกว้างเพื่อให้สามารถเก็บภาพท้องฟ้าให้ได้กว้างที่สุด โดยหันหน้ากล้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นทิศของศูนย์กลางการเกิดของฝนดาวตก (Radiant) บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ซึ่งจะเริ่มโผล่ขึ้นจากขอบฟ้าตั้งแต่เวลาประมาณสองทุ่ม ของวันที่ 13 ธันวาคม เป็นต้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น