วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วัดภูมินทร์ งานศิลป์เมืองน่าน




ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์นั้นสามารถถ่ายทอดวิถีชีวิตชาวเมืองน่านออกมาได้อย่างน่าชม โดยเรื่องราวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของคันทนกุมารชาดกและเนมิราชชาดก แต่ศิลปินผู้วาดภาพได้สอดแทรกและบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตชาวเมืองน่านเข้าไปในภาพได้อย่างกลมกลืน เช่น การแต่งกายของหญิงสาวที่นิยมนุ่งผ้าซิ่นตีนจกซึ่งเป็นซิ่นลายน้ำไหล อันเป็นผ้าทอเอกลักษณ์ของเมืองน่าน การสักลายตามตัวของหนุ่มๆ ชาวล้านนา กิจกรรมในวิถีชีวิตประจำวันเช่นการทอผ้าด้วยหูก การเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว การมาพบปะกันระหว่างหนุ่มสาวที่ชานบ้านในเวลาค่ำขณะที่หญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย สภาพบ้านเรือนของชาวล้านนาสมัยก่อน รวมไปถึงชาวพื้นเมืองและฝรั่งต่างชาติที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายในเมืองน่านสมัยนั้น เป็นต้น
วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้นหลังจากพระองค์ขึ้นครองนครน่านได้ ปี ปรากฏชื่อในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อวัดพรหมมินทร์ แต่ภายหลังได้เรียกเพี้ยนจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ และสำหรับฮูปแต้มอันโด่งดังของวัดภูมินทร์นั้น วินัย ปราบริปู ศิลปินเมืองน่าน และผู้ก่อตั้งหอศิลป์ริมน่าน ได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “วัดภูมินทร์ สิริศิลปกรรมมหาสมบัติเมืองน่าน” ว่า ฮูปแต้มในวัดภูมินทร์ได้เขียนขึ้นภายหลังการปฏิสังขรณ์พระวิหารขึ้นใหม่ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ โดยระยะเวลาการบูรณะอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2410-2417
ส่วนศิลปินผู้วาดภาพในวัดภูมินทร์สันนิษฐานว่าเป็น หนานบัวผัน ศิลปินพื้นเมืองชาวไทลื้อ
ปู่ม่านย่าม่าน” กระซิบรักบันลือโลก
   “คำฮักน้องกูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาว จักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาว ก็กลัวหมอกเหมยซอนดาวลงมาขะลุ้ม จักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม ก็กลัวเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไป ก็เลยเอาไว้ในอกในใจ๋ตัวชายปี้นี้ จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้ ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา...
 แปลได้ว่า
       ความรักของน้องนั้น พี่จะเอาฝากไว้ในน้ำก็กลัวเหน็บหนาว จะฝากไว้กลางท้องฟ้าอากาศกลางหาว ก็กลัวเมฆหมอกมาปกคลุมรักของพี่ไปเสีย หากเอาไว้ในวังในคุ้ม เจ้าเมืองมาเจอก็จะเอาความรักของพี่ไป เลยขอฝากเอาไว้ในอกในใจของพี่ จะให้มันร้องไห้รำพี้รำพันถึงน้อง ไม่ว่ายามพี่นอนหลับหรือสะดุ้งตื่น
  
ชายสูงศักดิ์
 ชายหนุ่มใส่เสื้อแขนยาวมีผ้าพาดบ่า เหน็บมีดไว้ที่เอว มีบุหรี่ขี้โยเสียบอยู่ในติ่งหูที่เจาะไว้ ที่ต้นขาเห็นเป็นสีดำนั้นไม่ใช่กางเกง แต่เป็นการสักขาลาย ซึ่งเป็นความนิยมของชายล้านนา โดยการสักนั้นมักจะสักตั้งแต่ท้องไปจนถึงขาอ่อน เราจึงมักเรียกผู้ที่สักแบบนี้ว่าลาวพุงดำ การสักนั้นแสดงถึงความเป็นลูกผู้ชาย เพราะต้องอดทนต่อความเจ็บปวด บางคนจึงต้องดื่มเหล้าขาวหรือสูบฝิ่นระหว่างการสักเพื่อลดความเจ็บปวด เมื่อสักขาเสร็จข้างหนึ่งก็จะจับไข้ไปประมาณ 2-3 สัปดาห์ แล้วจึงค่อยมาสักอีกข้างหนึ่ง บางคนทนความเจ็บปวดไม่ไหว ยอมสักขาแค่ข้างเดียวก็มี แต่หากชายคนใดไม่มีรอยสักก็จะไม่มีผู้หญิงยอมแต่งงานด้วยเพราะเชื่อว่าไม่มีความอดทน 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น