วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการออกแบบบ้านให้เย็น

เทคนิคการออกแบบบ้านให้เย็น  

บ้านเย็นคนที่อยู่อาศัยก็จะเย็นไปด้วย บ้านเป็นที่อยู่อาศัยในราคาที่แพงดังนั้นก่อนตัดสินใจที่จะซื้อหรือว่าสร้างบ้านนั้นจะต้องคิดให้รอบครอบก่อน การที่จะสร้างหรือว่าซื้ออย่างไรให้ถูกใจอาจจะมีหลายเหตุผลในการเลือกแบบบ้านที่ถูกใจ แต่ต่อไปนี้ทางเราจะแนะนำบ้านที่จะทำให้เย็นเป็นหลัก โดยการแนะนำการออกแบบบ้านให้เหมาะสมต่อสภาพอากาศของบ้านเรา ไม่ใช่สร้างให้เป็นเตาอบขึ้นมาเพื่อเป็นการตัดสินใจในการเลือกบ้านได้ด้วย บ้านที่เย็นนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องติดแอร์ให้สิ้นเปลืองเงิน เปลืองทั้งค่าไฟ เรามาออกแบบให้เย็นจะดีกว่า ซึ่งในปัจจุบันนั้นแบบบ้านจะเน้นความสวยงามและความเหมาะสมอื่นๆไม่ค่อยสนใจเรื่องออกแบบให้เย็นจึงเป็นปัญหาสำหรับคนที่อยู่อาศัยต้องติดแอร์และไม่สามารถติดตั้งหลังได้แต่ถ้าทำบ้านให้เย็นทำได้ทั่วบ้าน การออกแบบบ้านให้เย็นสามารถที่จะให้บ้านเราอยู่ที่ไหนก็เย็นได้ ซึ่งมีคำแนะนำในการออกแบบดังนี้



1.หลังคาบ้าน อันดับแรกที่เราจะต้องดูแลและให้การออกแบบที่ดีนั้นคงไม่พ้นหลังคาที่เป็นส่วนบนสุดของบ้าน รับทั้งแดดและฝน โดยเฉพาะแดดที่เป็นตัวทำให้บ้านร้อน ปัจจุบันหลังจากมีวัสดุหลายอย่างอย่างเช่นสังกะสี กระเบื้อง และอื่นๆ ตามที่จำหน่ายแต่ทีนี้จะมาถึงระบบระบายอากาศในพื้นที่ใต้หลังคา เพราะหากอากาศไม่ระบายออกแล้วพื้นที่ใต้หลังจากจะสะสมความร้อนคงมายังด้านล่างได้ทำให้บ้านร้อน ปัจจุบันในใต้หลังคาและหลังคาเองมีการปูฉนวนกันความร้อนไว้ด้วย ทำให้ลดความร้อนลง แต่ก็ต้องทำให้พื้นที่ใต้หลังคาเราต้องระบายอากาศอยู่ดี การที่จะทำให้พื้นที่ใต้หลังคาได้ระบายอากาศได้ดีนั้นต้องมีช่องระบายอากาศที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างดังรูป





นี้คือตัวอย่างการออกแบบบ้านให้สามารถระบายอากาศได้ดีและถูกต้องเพราะว่าอากาศจะลอยตัวขึ้นสูงเมื่อถูกความร้อน ทำให้อากาศส่วนที่อยู่ด้านบนระบายออกไปได้ง่าย แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำแบบนี้ล่ะ มักจะเป็นไม้ระแนงตามชายคาอย่างเดียวมากกว่าจะมีช่วยระบายอากาศด้านบน ซึ่งจะระบายอากาศได้เช่นกันแต่จะระบายได้น้อยกว่า

2. กระจก กระจกในหลายบ้านนำมาทำหน้าต่างและประตู หรือทำเป็นฝาเลยก็มี หลายคนที่นิยมกระจกเพราะว่าสามารถที่จะส่องทะลุออกได้ทั้งภายนอกและภายในทำให้บ้านเรามีความหรูไปอีกแบบ และทำให้บ้านดูกว้างขึ้น และทำให้แสงสว่างจากธรรมชาติเข้าไปโดยที่ไม่ต้องเปิดไฟ แต่เดียวก่อน… กระจกทำให้แสงผ่านก็ทำให้คลื่นและรังสีความร้อนเข้าไปภายในได้ง่ายและมากกกว่า เมื่อเข้าไปแล้วจะออกได้ยากทำให้ความร้อนเกิดสะสมมากขึ้น แต่ว่าปัจจุบันนั้นมีการใช้ฟิล์มเพื่อกรองความร้อนออกไปได้จะช่วยในเรื่องลดความร้อนได้ดี

3. ทิศของบ้าน ทิศของบ้านที่สร้างมีความสำคัญให้บ้านเย็นได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีลมมรสุมที่เกิดขึ้นเป็นฤดูกาล จึงทำให้มีลมผ่านมายังทิศต่างๆ ในทิศทางที่ลมพัดบ่อยมากที่สุดคือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นช่วงที่มีทิศทางลมพัดผ่านเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นทิศทางที่เหมาะสมในการสร้างบ้านให้หน้าบ้านหันไปทางทิศใต้และหลังบ้านให้หันไปทางทิศเหนือ ลมที่จะพัดในช่วงฤดูร้อนจะเป็นลมที่พัดเข้าทางหน้าบ้าน และลมหนาวก็จะพัดเข้ามาทางหลังบ้าน

4. หน้าต่าง ทั้งหน้าต่างและปะตู เป็นส่วนหนึ่งในการที่จะรับลมเข้ามาภายในบ้านและทางออกของลมด้วยควรกำหนดให้มีการรับลมและปล่อยลมออกให้พอดี ในทิศทางตำแหน่ง ขนาดให้เหมาะสมกับการระบายอากาศ การให้ช่องหน้าต่างให้มีการรับและผ่านออกให้ได้ตำแหน่งที่สามารถ เข้าออกได้สะดวก ดังตัวอย่างตามภาพ





จากรูปที่ 1 เป็นการออกแบบหน้าต่างผิดเพราะไม่ได้ช่วยให้ลมเข้าออกได้สะดวกเลย แต่รูปที่ 2 เป็นการให้หน้าต่างรับลมเข้าและออกได้อย่างสะดวก รูปที่ 3 เป็นปะตู 1 ช่อง และหน้าต่าง 2 ช่อง ทำให้ลมที่พัดเข้ามาทางประตูสามารถที่จะทะลุผ่านออกหน้าต่างได้ ทำให้บ้านได้รับลมและเย็นมากขึ้น

5. กันสาด หลายคนคงคิดว่ากันสาดเอาไว้กันฝนที่จะสาดลงมาที่แท้สามารถที่จะกันได้ทั้งแดดและก็ฝนด้วย สมัยนี้มีการออกกแบบกันสาดให้ยื่นออกไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพื่อความสวยงาม แต่ที่จริงแล้วหากต้องการให้กันแดดไปด้วยนั้นควรที่จะให้ยื่นออกไปมากพอสมควร เพื่อที่จะกันแดดไม่ให้ส่องมายังฝาผนังที่เป็นปูนดูดความร้อนเอาไว้นานมาก ควรที่จะติดตั้งกันสาดให้รอบๆบ้าน จะทำให้ลดอากาศร้อนในบ้านได้

6. ฉนวนกันความร้อน ดังที่กล่าวมาในเรื่องของการออกแบบหลังคาที่เราสามารถใช้ฉนวนกันความร้อนที่ใต้หลังคาจะทำให้ลดความร้อนมายังบ้านเราได้และกำลังเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน มีหลายชนิดหลายยี่ห้อและมีราคาที่ต่างกัน วัสดุที่มีอยู่ช่วยในกันความร้อนมากที่สุด คือ ทอง ไทเทเนียม เงิน สามารถสะท้อนและกันความร้อนมากที่สุด และมีราคาแพงมาก แต่ยังมีอลูมิเนียมก็มีประสิทธิภาพด้อยกว่าเล็กน้อย ก็เลยต้องทำการรีดเป็นแผ่นบางๆ แล้วติดกับกาวกับวัสดุอย่างอื่นแล้วมาจำหน่ายให้กับเราเป็นแผ่นใหญ่ก่อนนำมาใช้ก็ตัดให้มีขนาดก่อนนำไปติดใต้หลังคา

หลังจากที่ได้แนะนำกันไปแล้ว ตามบริเวณรอบๆบ้านควรที่จะปลูกต้นไม้เพื่อให้บ้านเราร่มรื่น จะช่วยลดความร้อนให้กับบ้านเราได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น