วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หน้าที่และความสำคัญของน้ำลาย

drooling-303313_640     

น้ำลายไหลเมื่อเรานึกถึงอะไรที่เปรี้ยวๆ น้ำลายก็จะมีการหลั่งออกมามากกว่าปกตินั้นเป็นอาการที่ใครหลายคนเป็นซึ่งเปิดจากต่อมผลิตน้ำลายออกมา น้ำลายเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในช่องปากของเรา มีลักษณะเป็นเมือ เหลวใส ต่อมน้ำลายจะหลั่งออกมาประมาณ 1 ลิตรต่อวัน มีค่า pH 6.0 – 7.4 น้ำลายยังมีเอนไซม์ ที่มีการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล น้ำลายเป็นเมือกนี้มีความสำคัญในระบบย่อยอาหารเป็นอย่างมาก โดยน้ำลายจะผลิตจากต่อมทั้งหมด 3 ต่อมดังนี้


ต่อมน้ำลายข้างหู (Parotid glands) เป็นต่อมน้ำลายที่ใหญ่ที่สุด อยู่บริเวณใต้หู ด้านหน้าของแต่ละข้าง สามารถผลิตน้ำลายได้ 25% น้ำลายที่ออกมาจะมีความใส มีอเล็กโทรไลต์และแอมิเลสที่ช่วยย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล โดยจะไหลผ่านท่อที่มีขนาดเล็กไปสู่ขนาดใหญ่ขึ้น หลังออกมาในบริเวณใกล้เคียงฟันกราม 2 ซี่ด้านบนหากเกิดการอักเสบหรือว่าติดเชื้อไวรัสจะเป็นคามทูม
ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร (Submaxillary glands) น้ำลายที่ผลิตจะมีความใสและเป็นเมือก สร้างน้ำลายออกมา 70% ต่อมน้ำลายจะอยู่ระหว่างด้านในของขากรรไกรจะมีท่อลำเลี้ยงมายังบริเวณใต้ลิ้นและหลั้งออกมาจากที่นั้น
ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (Suldingual Gland) อยู่บริเวณด้านล่างของลิ้นมีขนาดเล็กสุดผลิตน้ำลายได้ 5% โดยมีท่อขนาดเล็กหลายท่อหลั่งออกมาที่ใต้ลิ้นด้านข้างช่วยในการหล่อลื่นอาหาร



หน้าที่ของน้ำลาย

น้ำลายทำหน้าที่ทำให้อาหารนั้นนุ่ม เวลาที่เรากลืนหรือว่าเคี้ยวจะได้ง่ายขึ้นกลืนลงไปจะไม่ฟืดคอ มีเอนไซม์ที่เปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลเราจึงได้รสหวานเมื่อรับประทานแป้งเข้าไป น้ำลายยังมีแอนติบอดี้ที่มีชื่อว่า อิมมูโนโกลชูลิน ทำลายเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในช่องปาดช่วยป้องกันฟันผุได้ น้ำลายจะมีสารต่างๆผสมอยู่อีกเช่น สารอิเล็กโทรไลต์ จะทำให้หลั่งโซเดียม โปเตสเซียมคลอไรด์ ไปคาร์บอเนต

การหลั่งน้ำลายนั้นจะถูกความคุมในระบบประสาทซิมพาเทติกและซิมพาเทติก เป็นส่วนกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย เมื่อได้รับอาหารที่มีรสเปรี้ยวหรือเพียงแค่นึกถึงรสชาติที่เคยได้รับ ระบบประสาทซิมพาทีติกจะทำงานให้หลั่งน้ำลายออกมามากกว่าปกติ 8 -20 เท่า ทำให้เราได้รับของเปรี้ยวจะมีน้ำลายมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น